เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 8. นครวินเทยยสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติไม่
สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็นแม้ความ
ประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์เหล่านั้น จึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ ไม่ควรสักการะ
ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ ไม่ควรบูชา
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายก็ยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยังไม่
ปราศจากโมหะในธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยัง
ประพฤติไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายไม่เห็น
แม้ความประพฤติที่สม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะ
ฉะนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่ควรสักการะ ไม่ควรเคารพ ไม่ควรนับถือ
ไม่ควรบูชา’
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบ
อัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้เถิด’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :495 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [5. สฬายตนวรรค] 8. นครวินเทยยสูตร

สมณพราหมณ์ผู้ควรสักการะ

[436] พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ถ้าอัญเดียรถีย์ปริพาชกถามท่าน
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย สมณพราหมณ์เช่นไร อันท่าน
ทั้งหลายควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’ ท่านทั้งหลายถูกถาม
อย่างนี้แล้ว พึงตอบอัญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ‘สมณพราหมณ์
เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา
มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ
สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า แม้เราทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ยังไม่ปราศจากโทสะ ยัง
ไม่ปราศจากโมหะในรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา มีจิตยังไม่สงบในภายใน ยังประพฤติ
ไม่สม่ำเสมอทางกาย ทางวาจา และทางใจ เพราะเราทั้งหลายเห็นแม้ความ
ประพฤติสม่ำเสมอนั้นที่สูง ๆ ขึ้นไปของสมณพราหมณ์เหล่านั้น เพราะฉะนั้น
สมณพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้นจึงควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ ควรบูชา
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะในรส
ที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ...
สมณพราหมณ์เหล่าใดปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะใน
ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางใจ มีจิตสงบในภายใน ประพฤติสม่ำเสมอทางกาย ทาง
วาจา และทางใจ สมณพราหมณ์เช่นนี้ควรสักการะ ควรเคารพ ควรนับถือ
ควรบูชา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 14 หน้า :496 }